เชียงราย
เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯเป็นระยะทาง 829 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,678 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำหลายสาย
แบ่งการปกครองออกเป็น 16 อำเภอ
และ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง
อำเภอเชียงของ อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย
อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอป่าแดด อำเภอเวียงชัย อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเทิง
อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ลาว กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง
และกิ่งอำเภอดอยหลวง
ที่ตั้ง จังหวัดเชียงราย
ตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือถึง 20 องศา 30
ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15
ลิปดาถึง 100 องศา 45
ลิปดาตะวันออก
ทิศเหนือ ติดต่อกับเมืองสาดและจังหวัดท่าขี้เหล็กของรัฐฉานประเทศพม่า
และแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับแขวงอุดมไชยประเทศลาว
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภอภูซาง อำเภอจุน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว อำเภอแม่ใจ
จังหวัดพะเยา อำเภอเมืองปาน อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอดอยสะเก็ด
จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก
ติดกับอำเภอดอยสะเก็ด อำเภอพร้าว อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย
จังหวัดเชียงใหม่ และเมืองสาด รัฐฉาน ประเทศพม่า จังหวัดเชียงราย
มีชายแดนติดกับประเทศพม่ายาวประมาณ 130 กิโลเมตรและมีชายแดนติดต่อกับประเทศลาวประมาณ
180 กิโลเมตร
ภูมิประเทศ จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ 11,678.369 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,290,000 ไร่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นที่ราบสูงเป็นหย่อมๆ
ในเขตอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอเชียงของบริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ
1,500-2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลโดยมีดอยลังกาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด
มีความสูง 2,031 เมตรบริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ได้แก่
อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน
และอำเภอเชียงของ มีความสูงประมาณ 410-580 เมตร
จากระดับน้ำทะเลลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีป่าไม้ปกคลุมบริเวณเทือกเขามีชั้นความสูง
1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลมีที่ราบเป็นหย่อมๆในระหว่างหุบเขาและตามลุ่มน้ำสำคัญจังหวัดเชียงรายมีภูเขาล้อมรอบโดยเฉพาะทางทิศตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาผีปันน้ำ
ติดต่อกันไปเป็นพืดตลอดเขตจังหวัด
ภูมิอากาศ
จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือน(กุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม)
มีอุณหภูมิเฉลียประมาณ 32 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มจากกลางเดือน(พฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม)
มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 0.9 - 1.0 องศาเซลเซียส 2542 สภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ถือว่าหนาวจัดในพื้นที่ราบ
อุณหภูมิจะอยู่ที่ 7-9 องศาเซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 0-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ -1.5 องศาที่ภูชี้ฟ้า ปลายปี 2556 จึงทำให้อากาศที่เชียงรายในช่วงฤดูหนาว
เป็นพื้นที่ๆนักท่องเที่ยวอยากมาเป็นอย่างยิ่ง
ประชากร จังหวัดเชียงรายมีประชากรหลายเชื้อชาติ
ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง
แต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์
เป็นเสน่ห์ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ภาษา ภาษาพูดใช้พูดจากันเรียกว่า คำเมือง
เนื่องจากเชียงรายเคยเป็นเมืองร้างผู้คนนานเกือบร้อยปีได้มีการฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นมาใหม่เมื่อประมาณ
ปี พ.ศ. 2384 โดยได้เกณฑ์ราษฎรจากเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก แพร่ น่าน อุตรดิตถ์
และชนเผ่าไตใหญ่ ไตลื้อ ไตยอง และไตขืน (เขิน) ซึ่งอพยพจากเชียงตุง และสิบสองปันนารวมทั้งชาวลาวจากประเทศลาวได้เข้ามาอาศัยอยู่รวมกันดังนั้นสำเนียงพูดของชาวเชียงรายจึงมีความหลากหลายทางสำเนียงในพื้นที่ต่างๆ
ภาษาเขียน เชียงรายก็เช่นเดียวกันกับจังหวัดทางภาคเหนืออื่นๆ
คือมีภาษาเขียนที่เรียกว่าอักขระล้านนาหรือตัวเมืองอักษรล้านนามีวิวัฒนาการมาจากอักษรพราหมีของอินเดียมีการจัดระบบของหลักภาษาคล้ายกับภาษาบาลีอักษรล้านนามีรูปทรงกลมป้อมคล้ายอักษรพม่าและมอญแต่หลักการทางภาษาไม่เหมือนกัน
เศรษฐกิจ ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของเชียงราย คือ
ภาคการเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดถึงร้อยละ 32 ส่วนภาคการค้าส่งและค้าปลีกมีสัดส่วนร้อยละ 17 และภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนร้อยละ 12
พืชเศรษฐกิจ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย
ประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ลำไย ลิ้นจี่ ยางพารา และพืชผัก
นอกจากนี้ยังมีพืชเศรษฐกิจใหม่ที่จังหวัดมุ่งพัฒนาให้เป็นพืชเศรษฐกิจเฉพาะถิ่นได้แก่
ชา กาแฟ สับปะรด เป็นต้น
พืชเศรษฐกิจ ใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นอีกชนิดหนึ่งได้แก่
กาแฟ เนื่องจากมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในเขตอำเภอแม่สรวย
แม่ฟ้าหลวง เมือง และแม่สาย
อุตสาหกรรม
มีโรงงานที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย
(ยอดสะสมถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2551) รวมทั้งสิ้น 783 โรงงานเงินลงทุนรวม 8,440
ล้านบาท จ้างงานรวม 13,441 คนส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร(โรงสีข้าว กิจการบ่มใบชา
บ่มใบยาสูบ อบเมล็ดพืช) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอโลหะ อุตสาหกรรมที่สนับสนุนกิจการก่อสร้างโดยอำเภอเมืองมีโรงงานตั้งอยู่มากที่สุดรองลงมาคือ
อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย
เชียงรายเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกชามากที่สุดของประเทศ
และในปี 2547 จังหวัดได้กำหนดให้ชาเป็นพืชยุทธศาสตร์หลัก
โดยส่งเสริมให้มีการปลูกชาเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนพืชอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนต่ำและผลักดันให้จังหวัดเชียงรายเป็นศูนย์กลางผลิตชาพันธุ์ดีของประเทศพันธุ์ที่ปลูก
ได้แก่ ชาอัสสัม ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมและชาจีนที่เริ่มนิยมปลูกเนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง
แม่สรวย และเวียงป่าเป้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น