จากการศึกษาด้านตำนานพื้นเมืองต่างๆ
นักวิชาการท้องถิ่นของเชียงรายกล่าวว่าเรื่องราวเกี่ยวด้วยเรื่องการตั้งอาณาจักรต่างๆที่เป็นดินแดนของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบันนั้นได้ปรากฏในพงศาวดารเหนือเป็นหนังสือคัมภีร์ใบลาน
ตัวหนังสืออักษรธรรมล้านนา ตำนานเมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน บางแห่งเรียกว่า
ตำนานโยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสง เช่น ตำนานสิงหนวัติเป็นต้น
แต่ละเล่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองโยนกทั้งสิ้นจึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพงสาวดารโยนกอีกประการหนึ่งจะเกี่ยวพันกับอาณาจักรโบราณต่างๆ
อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน
ตามแนวความคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยในหลายความคิดได้มีความเชื่อว่า
ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยนั้นน่าจะอยู่ทางประเทศจีนมาก่อนในยุคที่ชนชาติไทยเรากำลังหนีจีนมาตั้งนครหลวงอยู่ที่แคว้นเมาและหนองแสนั้นถิ่นที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายนี้เป็นที่อยู่ของชาวป่าชาวเขาพวกหนึ่งเรียกว่า
“ลัวะ” (หรือลังวะ หรือละว้า)
และชาวป่าพวกอื่นอาศัยอยู่
เมื่อพญามังรายได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบๆ
ได้แล้ว จึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในการยุทธต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมาจึงได้ไปรวมพล ณ
เมืองลาวกู่เต้าและหมอควาญได้นำช้างมงคลของพญามังรายไปทอด (ผูก) ไว้ในป่าหัวดอยทิศตะวันออกพลัดหายไปพญามังราย
จึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทองริมแม่น้ำกกนัทธีได้ทัศนาการเห็นภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม
อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นในที่นั่นให้ก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง
ขนานนามเมืองว่า “เวียงเชียงราย” ตามพระนามของพญามังรายผู้สร้าง
เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 1805 ดังนั้น จึงได้นำรูปช้างสีขาวใต้เมฆแห่งความรุ่งเรืองและอยู่เย็นเป็นสุขบนพื้นสีม่วงของ
วันเสาร์ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญาเม็งราย เป็นสีประจำจังหวัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น