วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดเชียงราย



       จากการศึกษาด้านตำนานพื้นเมืองต่างๆ นักวิชาการท้องถิ่นของเชียงรายกล่าวว่าเรื่องราวเกี่ยวด้วยเรื่องการตั้งอาณาจักรต่างๆที่เป็นดินแดนของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบันนั้นได้ปรากฏในพงศาวดารเหนือเป็นหนังสือคัมภีร์ใบลาน ตัวหนังสืออักษรธรรมล้านนา ตำนานเมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน บางแห่งเรียกว่า ตำนานโยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสง เช่น ตำนานสิงหนวัติเป็นต้น แต่ละเล่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองโยนกทั้งสิ้นจึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพงสาวดารโยนกอีกประการหนึ่งจะเกี่ยวพันกับอาณาจักรโบราณต่างๆ อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน
       ตามแนวความคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยในหลายความคิดได้มีความเชื่อว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยนั้นน่าจะอยู่ทางประเทศจีนมาก่อนในยุคที่ชนชาติไทยเรากำลังหนีจีนมาตั้งนครหลวงอยู่ที่แคว้นเมาและหนองแสนั้นถิ่นที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายนี้เป็นที่อยู่ของชาวป่าชาวเขาพวกหนึ่งเรียกว่า ลัวะ” (หรือลังวะ หรือละว้า) และชาวป่าพวกอื่นอาศัยอยู่

       เมื่อพญามังรายได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบๆ ได้แล้ว จึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในการยุทธต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมาจึงได้ไปรวมพล ณ เมืองลาวกู่เต้าและหมอควาญได้นำช้างมงคลของพญามังรายไปทอด (ผูก) ไว้ในป่าหัวดอยทิศตะวันออกพลัดหายไปพญามังราย จึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทองริมแม่น้ำกกนัทธีได้ทัศนาการเห็นภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นในที่นั่นให้ก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง ขนานนามเมืองว่า เวียงเชียงรายตามพระนามของพญามังรายผู้สร้าง เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 1805 ดังนั้น จึงได้นำรูปช้างสีขาวใต้เมฆแห่งความรุ่งเรืองและอยู่เย็นเป็นสุขบนพื้นสีม่วงของ วันเสาร์ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญาเม็งราย เป็นสีประจำจังหวัด

ตราสัญลักษณ์และคำขวัญประจำจังหวัดเชียงราย



   




ตราประจำจังหวัดเชียงราย  คือรูปช้างสีขาวใต้เมฆ

ความหมาย: เมื่อพญามังรายได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบ ๆ ได้ แล้วจึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในการยุทธ ต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมา จึงได้ไปรวมพล ณ. เมืองลาวกู่เต้า และหมอควาญได้นำช้างมงคล ของพญามังรายไปทอด (ผูก) ไว้ในป่าหัวดอยทิศตะวันออก พลัดหายไป พญามังรายจึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทองริมแม่น้ำกกนัทธีได้ทัศนาการเห็นภูมิ ประเทศเป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี   จึงได้สร้างเมืองใหม่ ขึ้นในที่นั่นให้ก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง ขนานนาม  เมืองว่า "เวียงเชียงราย" ตามพระนามของพญามังรายผู้สร้าง เมื่อวันที่ 26  มกราคม พ.ศ. 1805 ดัง  นั้นจึงได้นำรูปช้างสีขาวใต้เมฆแห่งความรุ่งเรือง  และอยู่เย็นเป็นสุข บน พื้นสีม่วงของวันเสาร์ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญาเม็งราย เป็นสีประจำจังหวัด





คำขวัญของจังหวัดเชียงราย

                         “เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน
                       ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง







ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย 


ชื่อวิทยาศาสตร์: Pyrosgia Venusta (Ker) Miers
วงศ์: Bignoia Ceae
ลักษณะชนิดพันธุ์ไม้: ไม้เลื้อยต่างประเทศ
ชื่ออื่นๆ: Orange trumpet,Flower,Fire-Cracder Vine








ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย


ชื่อวิทยาศาสตร์: Radermachera ignea (Kurz) Steenis
วงศ์: Dignoniaceae
ชื่อพันธุ์ไม้: กาสะลองคำ
ชื่ออื่นๆ: ปีปทอง,แคเป๊าะ,สำเภาหลามต้น,สะเภา,อ้อยช้าง,จางจืด







แผนที่จังหวัดเชียงราย








เชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯเป็นระยะทาง 829 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,678 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำหลายสาย แบ่งการปกครองออกเป็น 16 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเชียงของ อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอป่าแดด อำเภอเวียงชัย อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเทิง อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ลาว กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง และกิ่งอำเภอดอยหลวง







ที่ตั้ง  จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือถึง 20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดาถึง 100 องศา 45 ลิปดาตะวันออก
ทิศเหนือ ติดต่อกับเมืองสาดและจังหวัดท่าขี้เหล็กของรัฐฉานประเทศพม่า และแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว                                  
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงอุดมไชยประเทศลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอภูซาง อำเภอจุน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา อำเภอเมืองปาน อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอดอยสะเก็ด อำเภอพร้าว อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และเมืองสาด รัฐฉาน ประเทศพม่า  จังหวัดเชียงราย มีชายแดนติดกับประเทศพม่ายาวประมาณ 130 กิโลเมตรและมีชายแดนติดต่อกับประเทศลาวประมาณ 180 กิโลเมตร

ภูมิประเทศ   จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ 11,678.369 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,290,000 ไร่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ  (North Continental Highland) มีพื้นที่ราบสูงเป็นหย่อมๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอเชียงของบริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500-2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลโดยมีดอยลังกาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด มีความสูง 2,031 เมตรบริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ได้แก่ อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ มีความสูงประมาณ 410-580 เมตร จากระดับน้ำทะเลลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีป่าไม้ปกคลุมบริเวณเทือกเขามีชั้นความสูง 1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลมีที่ราบเป็นหย่อมๆในระหว่างหุบเขาและตามลุ่มน้ำสำคัญจังหวัดเชียงรายมีภูเขาล้อมรอบโดยเฉพาะทางทิศตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาผีปันน้ำ ติดต่อกันไปเป็นพืดตลอดเขตจังหวัด



ภูมิอากาศ  จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือน(กุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม) มีอุณหภูมิเฉลียประมาณ 32 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มจากกลางเดือน(พฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม) มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี ฤดูหนาว (พฤศจิกายน กุมภาพันธ์) จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 0.9 - 1.0 องศาเซลเซียส 2542 สภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ถือว่าหนาวจัดในพื้นที่ราบ อุณหภูมิจะอยู่ที่ 7-9 องศาเซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 0-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ -1.5 องศาที่ภูชี้ฟ้า ปลายปี 2556 จึงทำให้อากาศที่เชียงรายในช่วงฤดูหนาว เป็นพื้นที่ๆนักท่องเที่ยวอยากมาเป็นอย่างยิ่ง


ประชากร จังหวัดเชียงรายมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง แต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ


ภาษา  ภาษาพูดใช้พูดจากันเรียกว่า คำเมือง เนื่องจากเชียงรายเคยเป็นเมืองร้างผู้คนนานเกือบร้อยปีได้มีการฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นมาใหม่เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2384 โดยได้เกณฑ์ราษฎรจากเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และชนเผ่าไตใหญ่ ไตลื้อ ไตยอง และไตขืน (เขิน) ซึ่งอพยพจากเชียงตุง และสิบสองปันนารวมทั้งชาวลาวจากประเทศลาวได้เข้ามาอาศัยอยู่รวมกันดังนั้นสำเนียงพูดของชาวเชียงรายจึงมีความหลากหลายทางสำเนียงในพื้นที่ต่างๆ
ภาษาเขียน เชียงรายก็เช่นเดียวกันกับจังหวัดทางภาคเหนืออื่นๆ คือมีภาษาเขียนที่เรียกว่าอักขระล้านนาหรือตัวเมืองอักษรล้านนามีวิวัฒนาการมาจากอักษรพราหมีของอินเดียมีการจัดระบบของหลักภาษาคล้ายกับภาษาบาลีอักษรล้านนามีรูปทรงกลมป้อมคล้ายอักษรพม่าและมอญแต่หลักการทางภาษาไม่เหมือนกัน

เศรษฐกิจ  ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของเชียงราย คือ ภาคการเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดถึงร้อยละ 32 ส่วนภาคการค้าส่งและค้าปลีกมีสัดส่วนร้อยละ 17 และภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนร้อยละ 12
พืชเศรษฐกิจ  พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ลำไย ลิ้นจี่ ยางพารา และพืชผัก นอกจากนี้ยังมีพืชเศรษฐกิจใหม่ที่จังหวัดมุ่งพัฒนาให้เป็นพืชเศรษฐกิจเฉพาะถิ่นได้แก่ ชา กาแฟ สับปะรด             เป็นต้น
พืชเศรษฐกิจ ใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นอีกชนิดหนึ่งได้แก่ กาแฟ เนื่องจากมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในเขตอำเภอแม่สรวย แม่ฟ้าหลวง เมือง และแม่สาย
อุตสาหกรรม   มีโรงงานที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย (ยอดสะสมถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2551) รวมทั้งสิ้น 783 โรงงานเงินลงทุนรวม 8,440 ล้านบาท จ้างงานรวม 13,441 คนส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร(โรงสีข้าว กิจการบ่มใบชา บ่มใบยาสูบ อบเมล็ดพืช) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอโลหะ อุตสาหกรรมที่สนับสนุนกิจการก่อสร้างโดยอำเภอเมืองมีโรงงานตั้งอยู่มากที่สุดรองลงมาคือ อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย
       เชียงรายเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกชามากที่สุดของประเทศ และในปี 2547 จังหวัดได้กำหนดให้ชาเป็นพืชยุทธศาสตร์หลัก โดยส่งเสริมให้มีการปลูกชาเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนพืชอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนต่ำและผลักดันให้จังหวัดเชียงรายเป็นศูนย์กลางผลิตชาพันธุ์ดีของประเทศพันธุ์ที่ปลูก ได้แก่ ชาอัสสัม ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมและชาจีนที่เริ่มนิยมปลูกเนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง แม่สรวย และเวียงป่าเป้า















สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย


  




วัดร่องขุ่น  ตั้งอยู่ที่ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย เป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรไทยที่มีผลงานจิตรกรรมไทยหลากหลาย จนได้รับการยกย่องขึ้นเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2554 ผู้ซึ่งอุทิศตนสร้างวัดวัดร่องขุ่นอันยิ่งใหญ่นี้ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์ให้วัดแห่งนี้งดงามดังสวรรค์ที่มีอยู่จริง อีกทั้งมนุษย์สามารถสัมผัสได้บนพื้นพิภพ คล้ายเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้คนเราใฝ่ปฏิบัติธรรม และประกอบแต่กรรมดีในการดำเนินชีวิต
       เมื่อครั้งกลับมาเยือนบ้านเกิด คือ หมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย อาจารย์เฉลิมชัย ได้เห็นว่า "วัดร่องขุ่น" ที่คนรุ่นพ่อร่วมกันสร้างนั้นมีสภาพทรุดโทรมเป็นที่สุด อาจารย์เฉลิมชัยจึงเกิดแรงดลใจว่าอยากสร้างวัดร่องขุ่นด้วยศิลปะสมัยใหม่ เหมาะกับประเทศไทย ภายใต้ร่มโพธิสมภารของในหลวง รัชกาลที่ 9  รวมถึงอยากจะสร้างงานศิลปะให้ยิ่งใหญ่ฝากไว้ให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ณ บ้านเกิด อาจารย์จึงลงมือก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยอุทิศทั้งชีวิตให้กับการสร้างงานชิ้นสุดท้ายของชีวิตชิ้นนี้ด้วยเงินที่เก็บสะสมมาจากการจำหน่ายผลงานศิลปะในเวลากว่า 20 ปี
       โดยวัดกำลังสร้างต่อเติมไปเรื่อยๆ ให้ครบทั้ง 9 หลังตามเป้าหมาย ให้เป็นอาคารที่มีรูปทรงแตกต่างกันเพื่อเป็นเมืองสวรรค์อันยิ่งใหญ่ให้คนทั้งโลกยอมรับและชื่นชมในผลงานการสร้างพุทธศิลป์แห่งนี้ ถึงแม้ว่าการก่อสร้างวัดนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์แต่ความงามที่ปรากฏได้สร้างความสุขทางใจให้ดื่มด่ำไปกับเรื่องราวในพุทธศาสนา กับรายละเอียดตกแต่งที่พิถีพิถันทั่วทุกมุม ซึ่งไม่เพียงแต่ความวิจิตรที่สัมผัสได้เพียงภายนอกเท่านั้น แต่ยังสื่อถึงหลักธรรมในศาสนาที่ลึกซึ้งให้ผู้ที่มาเยือนได้กลับไปขบคิดกันอีกด้วย 
       วัดร่องขุ่น เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.30-18.00 น. ห้องแสดงภาพเปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-17.30 น. วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เวลา 08.00-18.00 น. ทั้งนี้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดร่องขุ่น โทรศัพท์ 0 5367 3579, ททท. สำนักงานเชียงราย โทรศัพท์ 0 5371 7433 และศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 0 5371 5690


























พระตำหนักดอยตุง   เป็นแหล่งท่องเที่ยวเด่นของเชียงราย อยู่เหนือจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 45 กิโลเมตร  ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทอดตัวยาวอยู่ทางด้านซ้ายของเส้นทางที่มุ่งไปอำเภอแม่สาย แต่เดิมเป็นเทือกเขาหัวโล้นที่ถูกชาวเขาตัดทำลายเพื่อใช้พื้นที่ทำการเกษตร  จนกระทั่งสมเด็จย่าได้เสด็จมายังดอยตุงและทรงมีพระราชดำรัสว่า ฉันจะปลูกป่าดอยตุง  หลังจากนั้นในปี 2530  รัฐบาลจึงได้เริ่มจัดทำโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้นโดยปลูกป่าคืนความสมบูรณ์กลับคืนสู่ธรรมชาติ ได้ดึงชาวเขาเข้ามาทำงานในโครงการปลูกป่าดอยตุง  แต่ก่อนนั้นเส้นทางขึ้นดอยตุงเป็นเส้นทางลอยฟ้า คือเมื่อนั่งรถบนถนนดอยตุงแล้วมองลงมาก็จะเห็นวิวโล่งๆ ไม่มีต้นไม้มาบดบังทัศนียภาพ แต่ในปัจจุบันนี้ดอยตุงกลับคืนสภาพเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่งเมื่อนั่งรถไปตามเส้นทางขึ้นดอยตุงจะเห็นแต่ต้นไม้แน่นขนัดนั่นล้วนเป็นป่าปลูกทั้งสิ้น  หลังจากโครงการปลูกป่าแล้วเสร็จจึงได้มีการสร้างพระตำหนักดอยตุง และมีโครงการอีกหลายๆ โครงการตามมาเพื่อสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่น


   ดอยตุงนอกจากจะมีพระธาตุดอยตุงที่เป็นที่เลื่อมใสแล้ว ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่างมาก คือ พระตำหนักดอยตุงหรือ พระตำหนักสมเด็จย่านั่นเอง ตัวสถาปัตยกรรมเป็นแบบผสมมีกลิ่นอายล้านนาและความเรียบง่าย รอบพระตำหนักรายล้อมด้วยต้นไม้ดอกไม้นานาพันธุ์ ทำให้ที่นี่สวยงามร่มรื่นมาก
    พระตำหนักดอยตุง ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่เกิดโครงการพัฒนาดอยตุงฯ โดยพระราชดำรัสของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2530 พระองค์ทรงแปรพระราชฐานมาทรงงานที่นี่ และนับได้ว่าเป็น บ้านหลังแรกของพระองค์
    พระตำหนักสร้างอยู่บนเนินเขา ทำให้มองเห็นทิวทัศน์กว้างไกล ลักษณะเด่นคือ เป็นศิลปะแบบล้านนา บ้านปีกไม้ มีกาแล ผสมกับลักษณะบ้านพื้นเมืองของชาวสวิตเซอร์แลนด์ที่เรียกว่า ชาเลต์ (Swiss Chalet) มีไม้แกะสลักเป็นเชิงชายลายเมฆไหลอ่อนช้อย เน้นความเรียบง่ายแต่ใช้สอยได้อย่างครบครัน มีสองชั้นและชั้นลอย สิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจเป็นพิเศษคือ เพดานดาวที่มีตำแหน่งของดาวเรียงกันเหมือนเช่นในวันพระราชสมภพ นอกจากนี้ยังสามารถเข้าชมห้องบรรทมและห้องทรงงานที่สงบ เรียบง่าย แต่ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูป รอบพระตำหนักตกแต่งเป็นสวนสวยงามด้วยดอกไม้หลายสายพันธุ์บริเวณยอดเขารอบพระตำหนัก มีเจ้าหน้าที่นำชมเป็นรอบๆละ 20 นาที เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 07.00-17.30 น. ค่าเข้าชมสำหรับบุคลทั่วไป 90 บาท ผู้สูงอายุและนักเรียนนักศึกษา 45 บาท (โปรดแสดงบัตร) บัตรเข้าชม 3 แห่ง คือ พระตำหนัก, สวนแม่ฟ้าหลวง และหอแห่งแรงบันดาลใจ ราคาสำหรับบุคลทั่วไป 190 บาท ผู้สูงอายุและนักเรียนนักศึกษา 90 บาท

    พระตำหนักดอยตุงตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง สามารถเดินทางจากตัวเมืองเชียงรายใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (เชียงราย - แม่สาย) ระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร ถึงบริเวณ กม. 870-871 มีป้ายบอกทางแยกซ้ายไปพระตำหนักดอยตุงเป็นระยะทางอีก 17 กิโลเมตร หากต้องการใช้บริการรถสองแถวขึ้นดอยตุง ติดต่อ บ.ดอยตุงท่องเที่ยว โทร. 0 5366 7433 ดอยตุงลอด์จ โทร. 0 5376 7067 โดยจะเป็นรถสองแถวสีม่วง บริเวณปากทาง รถออกตั้งแต่ 07.00 น. มีรถออกทุก 20 นาทีติดต่อสอบถามเพิ่มเติม: โครงการพัฒนาดอยตุง ต. แม่ฟ้าหลวง อ. แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โทรแฟ็กซ์ 0-5376-7015-7, 0-5376-7003







































วัดห้วยปลากั้ง เริ่มกันก่อตั้ง เป็นสำนักสงฆ์  จนกระทั่ง วันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 ได้มี พระอาจารย์พบโชค  ติสฺสวํโส ได้เดินทางมาปฏิบัติธรรม แรกเริ่มบริเวณนี้ยังไม่มีวัดแบบปัจจุบัน แต่เนื่องจากพระอาจารย์พบโชคมีความรู้เรื่องโหราศาสตร์ ในการทำนายทายทัก ซึ่งปรากฏว่าผู้คนที่มาดูดวง ส่วนใหญ่นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตน ตามความเชื่อส่วนบุคคล และได้ประสบผลสำเร็จในชีวิตทำให้พระอาจารย์พบโชคเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งภาคเหนือและทั่วประเทศในที่สุด















ไร่ชาฉุยฟง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านพญาไพร ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวงและอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งปลูกชา ชั้นดี ของ บริษัท ฉุยฟงที จำกัด ซึ่งป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ที่สุดใน จังหวัดเชียงราย โดยมีประสบการณ์ยาวนาน ในการเพาะปลูก ชามากว่า 40 ปี ปัจจุบัน บริษัท ฉุยฟง  เป็นผู้ผลิตชาผู้จัดจำหน่ายและผู้ส่งออก มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ใช้ทาง ด้านอุตสาหกรรม เช่น โออิชิ มาลี ยูนีฟ ลิปตัน เป็นต้น สวนชาตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า1,000 ไร่ ตั้งอยู่ในภูมิประเทศแถบเทือกเขาสูง ซึ่งอยู่บนพื้นที่ี่สูงกว่า ระดับน้ำทะเลกว่า 1,200 เมตร มีความสวยงามของไร่ชาที่กว้างใหญ่ กว่าพันไร่ โดยจะปลูกโค้งวน ตามสันเขาและลดหลั่นเป็น ขั้นบันได ซึ่งดูสวยงามแปลกตากว่าไร่ชาที่อื่น ทำให้ ไร่ชาฉุยฟง กลายเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ































ภูชี้ฟ้า อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,628 เมตรโดยมีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว เป็นยอดเขาสูงที่สุด ในเทือกเขาดอยผาหม่นด้านที่ติดสาธารณรัฐประช ธิปไตยประชาชนลาว มีหน้าผาสูงชันเป็นจุดชมวิวทะเลหมอกที่สวยที่สุด โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะมี ทิวทัศน์สวยงามเป็นพิเศษ เดิมพื้นที่บริเวณภูชี้ฟ้าและดอยผาหม่น เป็นพื้นที่สีแดงที่มีความขัดแย้งรุนแรงจน ผู้คนจากภายนอก ไม่สามารถเดินเข้ามาในแถบนี้ได้ กระทั่งเมืาอความขัดแย้งหมดสิ้นลงไป ความสงบก็คืนสู่ขุนเขาอีกครั้ง  เมื่อเริ่ม มีผู้คนเดินทางมาชมธรรมชาติแล้วชื่อเสียงของภูชี้ฟ้าก็ขจรขจายไปอย่างรวดเร็วนื่องจากเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่ไม่มีใครนั่นคือ ลักษณะภูเขา ที่ชี้ไปบนฟ้า หากมาเยือนภูชี้ฟ้าในช่วงปีใหม่ยังจะได้ชมงานปีใหม่ที่ชาวม้งจะแต่งตัวม้งครบถ้วนทั้งหญิงและชาย จุดเด่นของงานคือ การโยนลูกช่วงหรือลูกหินระหว่างหนุ่ม - สาว ไฮไลต์สำคัญของการมาเที่ยวภูชี้ฟ้านอกจากการได้สัมผัส อากาศหนาวสบายและ ความสวยงามของทะเลหมอกแล้ว หากนักท่องเที่ยวเดินทางมาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม จะเป็นช่วงเวลาที่ดอกเสี้ยวหรือชงโคป่าจะผลิดอกสีขาวบานสะพรั่งเต็มเชิงเขา


























พิพิธภัณฑ์หอฝิ่น   เป็นศูนย์นิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมาของฝิ่นเมื่อสมัยที่ยังมีการใช้ยาเสพติดตัวนี้กันอย่างถูกกฎหมาย และผลกระทบของการเสพติดฝิ่น แถมยังทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัยและการศึกษาต่อเนื่องในหัวข้อฝิ่น สารสกัดจากฝิ่นในรูปแบบต่างๆและยาเสพติดในชนิดอื่นๆ และยังเป็นเสมือนประตูเปิดสู่โลกอันลึกลับของพืชชนิดนี้ จากความมืดมนน่าหวาดกลัว สู่ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง


    หอฝิ่น แสดงลำดับเรื่องราวของฝิ่น โดยเริ่มจากธรรมชาติวิทยาของฝิ่นการสืบประวัติการใช้ฝิ่นในยุคโบราณกลับไป 5,000 ปี ประวัติการแพร่กระจายของฝิ่นจากการค้าสมัยจักรวรรดินิยม เหตุการณ์พลิกประวัติศาสตร์ ที่สร้างความอดสูแก่ผู้ชนะและผู้แพ้สงครามฝิ่น อันนำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์แมนจู ความชาญฉลาดของประเทศสยามในการเผชิญกับมหาอำนาจตะวันตก และการควบคุมปัญหา ฝิ่น ยาเสพติดเริ่มใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันในรูปแบบของยามหัศจรรย์ หอฝิ่นได้นำเสนอสนธิสัญญาฝิ่นกฎหมายเกี่ยวกับฝิ่นองค์การที่แก้ไขปัญหานี้ ความขัดแย้งและการพัวพันอาชญากรรม ผลกระทบที่เลวร้ายของยาเสพติดที่ทำให้ผู้เสพไม่สามารถต่อต้านได้มาตรการควบคุมและปราบปรามยาเสพติดและกรณีศึกษาที่นำเสนอทางเลือก โอกาสที่จะต่อสู้กับความเย้ายวนจากสารเสพ ติดหอฝิ่นได้จัดแสดงอุปกรณ์การสูบฝิ่น การขายฝิ่น          ชมภาพถ่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์เรื่องราวเกี่ยวกับ และยาเสพติดจากหลายประเทศทั่วโลก
      ความเป็นมาของหอฝิ่น ในดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ คือจุดที่ประเทศไทย ลาว และพม่า มาบรรจบกัน เป็นที่ที่แม่น้ำรวกไหลมารวมกันกับแม่น้ำโขง และยังหมายถึงพื้นที่กว้างครอบคลุมบริเวณถึงสามประเทศและในพื้นที่นี้เองมีการปลูกฝิ่น ผลิตเฮโรอีนและลักลอบนำออกไปขาย เมื่อได้ยินคำว่า สามเหลี่ยมทองคำ “  คนส่วนมากมักจะนึกถึง ดอกฝิ่น ชาวไทยภูเขา เทือกเขาที่ปกคลุมไปด้วยเมฆหมอก แม่น้ำโขง หรือภาพของภาพป่าเบจพรรณ แต่ภาพที่นึกถึงมากที่สุดคงจะเป็นภาพของฝิ่นและเฮโรอีน ภาพความลึกลับน่าสะพรึงกลัวของการปลูกและการลักลอบค้าฝิ่น ภาพสงครามกลางเมือง กองทหารการสู้รบของพวกลักลอบการค้าฝิ่น ชาวบ้านยากจน การกวาดล้างโรงงานผลิตเฮโรอี คาราวานขนฝิ่นไปตามเส้นทางในป่า สามเหลี่ยมทองคำคือ แหล่งที่มาของเฮโรอีนกว่าครึ่งของจำนวนที่มีอยู่ทั้งหมดในโลก


































แม่สาย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 61 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 110 เป็นอำเภอเหนือสุดของ ประเทศไทย ติดกับจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่า โดยมีแม่น้ำแม่สายเป็นพรมแดน มีสะพานเชื่อมเมืองทั้งสองเข้า ด้วยกัน ทั้งชาวไทยและชาวพม่าเดินทางไปมาหาสู่ค้าขายกันได้โดยเสรี นักท่องเที่ยวชาวไทยนิยม เดินทางไป ยังตลาดชาย แดนแม่สายและท่าขี้เหล็กของพม่า เพื่อซื้อสินค้าพื้นเมืองและสินค้าราคาถูก เช่น สบู่พม่าสมุนไพร เครื่องทองเหลือง ตะกร้า การข้ามไปท่าขี้เหล็กนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเข้าเขตประเทศพม่าได้ทุกวัน ระหว่าง เวลา 16.30-18.00 น. โดยใช้บัตรประชาชน หรือบัตรอื่น ๆ ที่ทางราชการออกให้ ค่าบริการคนละ 30 บาท ค่าผ่าน แดนเข้าพม่า 10 บาท สินค้าที่ไม่อนุญาตให้ซื้อเข้าไทย ได้แก่ สินค้าจากซากสัตว์ป่า สุรา บุหรี่ต่างประเทศและ ซีดีอนาจาร หากซื้อมาเพื่อ การค้าต้องเสียภาษีนำเข้าให้ถูกต้องด้วยด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สาย






















































ไร่บุญรอด หรือ สิงค์ปาร์ค จังหวัดเชียงราย (Boon Rawd Farm) สวยงามด้วยไร่ชากว้างใหญ่สุดสายตา โอบล้อมด้วยภูเขากว้างใหญ่ และอากาศดีตลอดทั้งปี ในพื้นที่ใหญ่โต 8000 ไร่ ขึ้นชื่อกับไร่ชา พุทธรา มะเฟือง และพืชผลไม้หน้าหนาวหลากลายชนิดเปิดฟาร์มรอให้คุณได้เข้าไปเที่ยวชมแล้วโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ภายในไร่ที่กว้างใหญ่สามารถเที่ยวชมได้ 2 วิธี คือ นั่งรถบริการของทางไร่ สบายๆ มีเจ้าหน้าที่คอยอธิบายรายละเอียดแก่นักท่องเที่ยวด้วยสามารถปั่นจักรยานได้ ซึ่งเค้าก็จะมีบริการให้ด้วยเช่นกัน
    ไร่บุญรอดเชียงรายเป็นไร่ของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตเบียร์สิงห์, ลีโอ ไร่บุญรอดที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร บนพื้นที่นับพันไร่ ในบรรยากาศโอบล้อมด้วยภูเขา และธรรมชาติ ที่เพิ่งจะเปิดให้เข้าชมเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
     ไร่บุญรอดเปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2554 และต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็น สิงห์ปาร์ค เชียงรายภายในไร่บุญรอดปลูกพืช ทำการเกษตรหลายชนิด เช่นไร่ชาอู่หลง, พุทราไต้หวัน, สตอร์เบอร์รี่, มัลเบอร์รี่, ยางพารา, ฟักทองยักษ์, ผัก ผลไม้เมืองหนาว, ข้าวบาร์เลต์, ฟาร์มปศุสัตว์เลี้ยงวัวนม ฯลฯ

     ที่ตั้งของไร่บุญรอดตั้งอยู่ริมถนน 1211 หรือถนนสายเด่นห้า-ดงมะดะ ห่างจากตัวเมืองเชียงรายไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 16 กิโลเมตรที่นี่ไม่มีรถประจำทางผ่านต้องไปด้วยรถส่วนตัวหรือไม่ก็ต้องเหมาสองแถวรับจ้างเข้าไป



































น้ำตกปูแกง   เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในอำเภอพาน ซึ่งตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติดอยหลวง เป็นน้ำตกที่มีการทับถมของหินปูนที่ปนมากับน้ำ ทำให้เกิดหินงอกหินย้อย และถ้ำมากมายในบริเวณน้ำตก เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง มีจำนวน 9 ชั้น สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอพานแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณบ้านปูแกง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยปกติจะมีราษฎรในท้องถิ่นเดินทางไปเที่ยวพักผ่อนอยู่เป็นประจำ










บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำกกฝั่งซ้าย หมู่ 2 ต.แม่ยาว อ.เมืองเชียงราย นอกจากชาวกระเหรี่ยงแล้วยังมีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าอาข่าและลาหู่ในระแวกใกล้เคียง หมู่บ้านกระเหรี่ยงเป็นหมู่บ้านขี่ช้างเที่ยวชมหมู่บ้านชาวเขา บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร มีหมู่บ้านบริวาร 1 หมู่บ้าน คือ บ้านดอยบ่อ 2 ( ชนเผ่าอาข่า ) บ้านรวมมิตรมีประชากรทั้งหมด 2,840 คน จำนวนครัวเรือน 1,549 ครัวเรือนประกอบไปด้วย ชนเผ่ากะเหรี่ย,อาข่า,ลาหู่,ลีซอ,ม้ง,ไทลื้อ

กิจกรรมที่สำคัญ
1. กิจกรรมนั่งช้าง นั่งเกวียน ชมวิถีชีวิตชนเผ่า ทิวทัศน์ พันธ์ไม้ต่าง ๆ สามารถนั่งช้างไปยังน้ำตก ห้วยแม่ซ้ายได้
2.ชมร้านจำหน่ายของที่ระลึกจากฝีมือชาวเขาเผ่าต่างๆ
3.ชมการแสดงวัฒนธรรมชนเผ่า
4. พักหมู่บ้าน Home Stay ในพื้นที่หมู่ 2
นั่งช้าง
- ขี่ช้าง เวลา 08.00-16.00 น. ติดต่อชมรมช้างบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตรทัวร์ หรือสอบถามที่ อบต.แม่ยาว โทร 053-737359-11 หากมาเป็นหมู่คณะต้องติดต่อล่วงหน้า 3 วัน ช้าง 1 เชือกนั่งได้ 2 คน
- เส้นทางท่องเที่ยวบนหลังช้างจะพาไปท่องเที่ยวหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆที่มีทั้งกะเหรี่ยง อาข่า ลาหู่ เย้า แล้วแต่นักท่องเที่ยวจะเลือกแต่เส้นทางปกติคือเส้นทางไปบ้านจะทอของลาหู่ในเที่ยวกลับจะพาไปล่องน้ำกก กลับมายังแคมป์ช้าง
- นั่งช้างเดินรอบหมู่บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร+ลงแม่น้ำกก ครึ่งชั่วโมง 200 บาท/ เชือก / 2 ท่าน
- นั่งช้างเดินรอบหมู่บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร+บ้านชาวเขา+ลงแม่น้ำกก  1 ชั่วโมง 400 บาท / เชือก / 2 ท่าน
- เส้นทางท่องบ้านจะต่อ 500 บาท บ้านยาฟู 500 บาท บ้านเย้า 500 เดินทัวน์ป่าใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง
- น้ำตกห้วยแม่ซ้ายราคา 700 บาท เดินทัวน์ป่าใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง
- บ้านจะทอ ราคา 300 บาท เดินเลียบถนนไปใช้เวลา 1 ชั่วโมง